หน้าหลัก แนะนำการใช้งานเว็บไซต์ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ผู้จัดทำ
การเขียนโปรแกรมภาษาซีชาร์ป
บทที่1 แนะนำภาษาซีชาร์ป
บทที่2ตัวแปรและตัวดำเนินการ
ตัวแปรและตัวดำเนินการ

ตัวแปร ชนิดข้อมูล และตัวดำเนินการ

1. ตัวแปร
1.1 ความหมายของตัวแปร
ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เรากำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนข้อมูลบางอย่าง โดยค่าของมันสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาที่โปรแกรมทำงานอยู่ ตัวแปรทุกตัวต้องถูกประกาศก่อนนำมาใช้งาน โดยมีการระบุชนิดของข้อมูลที่จะใช้กับตัวแปรนั้นๆ
1.2 กฎการตั้งชื่อตัวแปร
1.2.1 ต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข 0-9 หรือเครื่องหมาย_
1.2.2 ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ หรือเครื่องหมาย @ เช่น myNumber, _value, @name
1.2.3 สามารถใช้ตัวเลขร่วมได้ แต่ห้ามใช้ตัวเลขขึ้นต้น เช่น number1, csharp2008
1.2.4 ต้องไม่ซ้ำกับ Reserve Word
1.2.5 มีความยาวได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
1.2.6 การเขียนด้วย ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ต่างกัน ถือว่าเป็นคนละตัว เช่น abc ไม่เท่ากับ ABC ไม่เท่ากับ Abc

2. ชนิดข้อมูล
ตัวแปรแต่ละตัวที่เราสร้างขึ้นจะต้องระบุด้วยว่าจะใช้เก็บข้อมูลชนิดใด เนื่องจากข้อมูลแต่ละชนิดจะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บไม่เท่ากัน รวมทั้งมีวิธีการประมวลผลที่ต่างกันด้วย

ตารางที่ 2.1 ชนิดข้อมูลหลักๆของภาษา C#

3. ตัวดำเนินการ
ตัวดำเนินการ หรือ โอเปอเรเตอร์ คือ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการกำหนดค่า หรือประมวลผลข้อมูล ซึ่งแบ่งได้หลายกลุ่มดังนี้
3.1 ตัวดำเนินการสำหรับการคำนวณ ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งตัวดำเนินการเหล่านี้เราคงทราบกันดีอยู่แล้ว

ตารางที่ 2.2 ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์

** ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ ++ และ –
การวางเครื่องหมาย ++ หรือ – ไว้ด้านหน้า หรือ หลังตัวแปร หากตัวแปรนั้นอยู่เดี่ยวๆ ค่าที่ได้จะไม่ต่างกัน แต่หากใช้ในรูปแบบกระทำกับค่าอื่นๆด้วย ค่าที่ได้จะแตกต่างกันออกไป เช่น

ตารางที่ 2.3 การใช้เครื่องหมาย ++ และ --

3.2 ตัวดำเนินการสำหรับการกำหนดค่า เป็นเครื่องหมายสำหรับกำหนดค่าของตัวแปรทางด้านซ้ายของเครื่องหมายด้วยค่าที่อยู่ทางด้านขวาของเครื่องหมาย

ตารางที่ 2.4 ตัวดำเนินการสำหรับการกำหนดค่า

3.3 ตัวดำเนินการสำหรับการเปรียบเทียบ เป็นเครื่องหมายสำหรับการเปรียบเทียบเพื่อหาค่าความจริงสำหรับ 2 นิพจน์ซึ่งหากผลการเปรียบเทียบเป็นจริงจะได้ผลลัพธ์เป็น true และหากเป็นเท็จจะได้ false เช่น
bool a = 10>5; // a = true
bool b = (10%2 = 0) // b = false เพราะ 10 หาร 2 มีเศษเป็น 0

ตารางที่ 2.5 ตัวดำเนินการสำหรับการเปรียบเทียบ

3.4 ตัวดำเนินการทางตรรกะ เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง 2 นิพจน์ ซึ่งแต่ละนิพจน์ที่จะนำมาเปรียบเทียบ จะต้องมีค่าเป็น true หรือ false และผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็น true หรือ false

ตารางที่ 2.6 ตัวดำเนินการทางตรรกะ

กำหนดค่า bool a = true ,b = false ,c = false ,d = true , e ;

ตารางที่ 2.7 การใช้ตัวดำเนินการทางตรรกะ

3.5 ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ การวางตำแหน่งหรือจัดกลุ่มที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจแตกต่างกันไป ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับตัวดำเนินการสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ดังตารางที่ 2.8 และตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญเท่ากัน จะคำนวณจากซ้ายไปขวา

ตารางที่ 2.8 ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการ



จัดทำโดย นายครรชิต ศรีรัตนประพันธ์ ครูชำนาญการ โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีในบราวเซอร์ Chrome และ Firefox